ข่าวสาร

ฟาร์มรุ่งทวีชัย ได้รับอนุญาตจากไซเตส

รู้เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายและความสำเร็จของฟาร์มรุ่งทวีชัย ซึ่งเป็นฟาร์มของวานิไทย ที่ได้มาตราฐานสากล

ความสำคัญของการสงวนพันธุ์จระเข้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 แล้วโดยขณะนั้นมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์น้ำของกรมประมง จะมีข้อความครอบคลุมไปถึงจระเข้ด้วย ซึ่งก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคุ้มครองนี้หลายหน ท้ายสุดในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยสัตว์ป่าคุ้มครอง มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2535 พร้อมกับยกเลิกกฎหมายฉบับเก่า ซึ่งในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นี้ได้กำหนดให้จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย จระเข้น้ำเค็ม และตะโขงทั้ง 3 ชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย กล่าวคือกฎหมายจะกำหนด ห้ามล่า ห้ามค้า ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามนำเข้า ห้ามส่งออกจระเข้และผลิตภัณฑ์จระเข้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีเจตนารมณ์ที่จะอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงและค้าขายสัตว์ป่าคุ้มครองได้หากสัตว์ป่าชนิดนั้นสามารถทำการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้ โดยการออกประกาศกฎหมายกระทรวง ตามมาตรา 17 และมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเพาะพันธุ์ได้ ซึ่งจะกำหนดให้จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยและจระเข้น้ำเค็ม เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเพาะพันธุ์ได้และเมื่อมีการประกาศดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงและการค้าจระเข้ และผลิตภัณฑ์จระเข้ของไทย ก็สามารถที่จะครอบครองเพาะพันธุ์ และค้าจระเข้ที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงได้ถูกต้องตามกฎหมาย

          ในเรื่องของการอนุรักษ์และคุ้มครอง องค์กรระดับนานาชาติ คือ สหประชาชาติ Unites Nations หรือ UN มีหน่วยงานด้านอนุรักษ์ที่สำคัญคือ สหภาพระหว่างประเทศว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservatian of Natural Resources หรือ IUCN) องค์กรนี้จะมีหน่วยงานบริหารภายในที่ช่วยกันรับผิดชอบงานต่าง ๆ ได้แก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Species Survival Commission หรือ SSC) และคณะกรรมการทำงานด้านอนุรักษ์สัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือเรียกกันว่า ไซเตส (Convention on International Trade in Endangerd Species of wild Fauna and Flora หรือ CITES)

         

ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือ CITES นี้ ได้กำหนดให้จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย จระเข้น้ำเค็ม และตะโขง ทั้ง 3 ชนิดที่พบในประเทศไทยเป็นสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ใน CITES Appendix 1 ซึ่งต้องห้ามไม่ให้ทำการค้าระหว่างประเทศโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม อนุสัญญานี้ได้กำหนดไว้ว่าหากเป็นสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ใน CITES Appendix 1 และสามารถทำการเพาะพันธุ์ได้จนถึงรุ่นที่ 2 ก็จะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ใน CITES Appendix 11 คือ อนุญาตให้ค้าระหว่างประเทศได้ ภายใต้การควบคุม ของ CITES ในส่วนของ SSC จะมีการแบ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแยกย่อยออกตามชนิดพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืช ทำหน้าที่ให้ข้อมูลทางวิชาการและสรุปต่าง ๆ แก่ ไซเตส เพื่อที่ไซเตสจะได้นำไปใช้ในการตัดสินเกี่ยวกับการควบคุม หรือสนับสนุนการค้าสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและหลักวิชาการ ใน SSC ก็มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจระเข้อยู่ด้วย เรียกว่า Crocodile Specialist Group หรือ CSG ซึ่งจะประกอบไปด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์เพาะเลี้ยงจระเข้ทั่วโลกกว่า 200 คน มีคณะกรรมการบริหารจำนวน 24 คน ทำหน้าที่วางแผน วางนโยบายการอนุรักษ์จระเข้แก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการให้คำแนะนำแก่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ที่มีจระเข้อยู่ ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติโดยข้อปฏิบัติ ต้องปฏิบัติตามนโยบายและกฎเกณฑ์ของ IUCN นั้น

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็เป็นตัวแทนของประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของไซเตส โดยจะมีหน่วยงาน เช่น กรมป่าไม้ กรมประมง ทำหน้าที่รับผิดชอบทางด้านนี้ ประสานกับไซเตส เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ของสัตว์ป่าคุ้มครองในเมืองไทย กล่าวเฉพาะจระเข้ หน่วยงานทั้งสองจะรายงานให้ไซเตสทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานภาพของจระเข้ในประเทศไทย โดยกรมป่าไม้จะรายงานในส่วนของจระเข้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่วนกรมประมงจะรายงานในเรื่องการเพาะเลี้ยงจระเข้ในประเทศไทย โดยการประสานกับผู้เลี้ยงจระเข้ที่ประสงค์จะสั่งจระเข้ออกขายในตลาดต่างประเทศ เพื่อประสานงานกับทางไซเตส ในการที่จะออกใบรับรองว่าการส่งออกนั้นเป็นการถูกต้องตามกฎหมายสากล ในส่วนของผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายฟาร์มด้วยกัน มีทั้งฟาร์มขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ก็ได้มีการรวมตัวกันก่อตั้งองค์กรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือให้คำแนะนำคำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจจะเลี้ยงจระเข้ ทำหน้าที่ประสานงานกับกรมป่าไม้ กรมประมง รวมทั้งไซเตส องค์กรดังกล่าวมีชื่อว่า สมาคมส่งเสริมการอนุรักษ์และเพาะเลี้ยงจระเข้แห่งประเทศไทย(Crocodile Management Association of Thailand หรือ CMAT) จนถึงปัจจุบัน CMAT ได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ไซเตสได้จดทะเบียนรับรองให้ ฟาร์มรุ่งทวีชัย     สามารถส่งออกหนังดิบ, หนังฟอก และผลิตภัณฑ์จากจระเข้ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

A-TH-524

Operation:

Address: 

Rungtaweechai Crocodile Farm 31 Moo 9 Tambol Sarmngharm Amphur Dontoom Nakornpathom Province

Farm: Rungtaweechai Crocodile Farm

Address: 

38 Moo 5 Tambol Danmachamtia Amphur Danmachamtia Kanchanaburi Province

Date of establishment: Tuesday, January 1, 1991

Date of CITES registration: Wednesday, January 11, 2012

Species bred:

– Crocodylus porosus
– Crocodylus siamensis

Origin of stock:

Captive-bred in Thailand in CITES-registered and non registered operations

Marking of specimens:

– Newly born crocodiles are marked by scute cuttings; – Young crocodiles bear a numbered plastic tag on the tail; – Skins are tagged with a CITES label; and – Meat is labelled with the farm name.

 

 

ที่มา : https://cites.org/eng/cms/index.php/component/cp/country/TH/cites-registers/Captive-Breeding-Operations

           http://www.fisheries.go.th/if-nakhonsawan/ccd/ccd_lawforfarming.htm