ตามรอยเลือดจระเข้ที่ รุ่งทวีชัยฟาร์ม กับนิตยสารสร้างเงินสร้างงาน

“รุ่งทวีชัยฟาร์ม” มีจระเข้ทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม เลี้ยงอยู่ประมาณ 10,000 ตัว โดยมี คุณวิชัย และคุณวิสาชิณี รุ่งทวีชัย สองพี่น้องที่ทำหน้าที่ช่วยดูแลฟาร์มแห่งนี้อยู่ แต่ที่ดูแลเรื่องการทำผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แคปซูลจะเป็นน้องสาวคือ คุณวิสาชิณ๊ เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงแต่ไหนๆก็มาถึงฟ่ร์มจระเข้ทั้งที ก็คงต้องขอความรู้เรื่องการทำฟาร์มจระเข้สักหน่อยว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร จึงได้เริ่มเข้ามาทำธุระกิจนี้ เพราะดูจากบุคคลิกแล้ว แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าคุณวิสาชิณี จะสนใจทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ได้ชื่อว่าสุดยอดอันตรายชนิดหนึ่งอย่างจระเข้ และทำมานานกว่า 20 ปีแล้ว
. คุณวิสาชิณี เล่าให้ฟังว่า ด้วยความที่เป็นลูกสาวคนเดียวและมีแต่พี่น้องที่เป็นผู้ชายกันหมด ก็เลยอาจจะทำให้ชอบเล่นอะไรแบบเด็กผู้ชาย และทำให้เป็นคนไม่ค่อยกลัวอะไรมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เห็นสัตว์อะไรแปลกๆ ก็มักจะเอามาเลี้ยงที่บ้านเป็นประจำ ซึ่งก็รวมถึงจระเข้ด้ว “เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว พอดีว่าในฟาร์มของเรา มีบ่อที่น้องชายเคยเลี้ยงกบมาก่อน เราเห็นบ่อยังว่างอยู่เลยเอาลูกจระเข้มาปล่อยเลี้ยงไว้ 20 ตัว ตอนนั้นซื้อมาตัวละ 2,500 บาท ก็ไม่ได้คิดอะไร แค่อยากหามาเลี้ยงไว้เฉยๆ เลี้ยงก็ไม่เป็น ก็ใช้วิธีหาปลา หาอาหารมาเลี้ยงไปเรื่อยๆ แต่ก็โชคดีที่จระเข้เป็นสัตว์ที่แข็งแรง จึงไม่ค่อยเ็ป็นอะไรง่ายๆ เลี้ยงไว้ 20 ตัวก็รอดทั้งหมด พออายุได้ 6 ปี ตัวเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ บ่อที่เลี้ยงไว้ก็เริ่มคับแคบ และบ่อเริ่มแตก แต่เราจับจระเข้ไม่เป็น ก็เลยติดต่อพ่อค้าให้มารับซื้อ เพราะเห็นว่าช่วงนั้นราคายังดีอยู่ แต่พ่อค้ามีตีราคาให้ 4,000 บาท เราก็ต่อรองราคา 20 ตัว ขอ 100,000 บาท (ตัวละ 5,000 บาท) แต่พ่อค้าเห็นว่าเราคงไม่รู้จักใคร คงขายไม่ได้เลยไม่ยอมซื้อ ด้วยความโมโห เราก็เลยไม่ขาย แล้วทุบบ่อที่อยู่ติดกัน ให้กลายเป็นบ่อขนาดใหญ่ขึ้น แล้วก็เลี้ยงมาเรื่อยๆ โดยใช้ 20 ตัวนี้ทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มจระเข้มาจนถึงทุกวันนี้”
.
จากนั้นก็ศึกษาหาความรู้เรื่องการเลี้ยงจระเข้เพิ่มเติมจนเริ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยๆ และได้เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ต้องก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างจริงจัง เพราะเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว รายการโทรทัศน์รายหนึ่งต้องการถ่ายทำเกี่ยวกับฟาร์มจระเข้ของเกษตรกรรายย่อย ทางกรมประมงจึงแนะนำมาที่รุ่งทวีชัยฟาร์ม หลังออกรายการก้เลยมีเกษตรกรติดต่อเข้ามาจำนวนมาก อยากได้ลูกจระเข้ไปเลี้งบ้างเพราะตลาดกำลังบูม แต่ตอนนั้นที่ฟาร์มไม่ได้เพาะพันธุ์ขาย ก็เลยใช้วิธีหาจระเข้ี่ที่อื่นมาขายให้ พอมีเกษตรกรซื้อไปเลี้ยงมากขึ้นก็เลยเป็นภาระผูกพันธ์ เมื่อถึงเวลาจับจระเข้ขาย (อายุประมาณ 3 ปี) ก็เลยต้องไปจับจระเข้กลับมา แล้วหาตลาดขายให้ แต่พอดีว่าช่วงนั้น เริ่มมีตลาดของตัวเองบ้างแล้วก็เลยมีที่ขายให้กับเกษตรกรรายอื่นได้ด้วย เมื่อก่อนจะจับขายเป็นตัว ส่งขายให้กับฟาร์มขนาดใหญ่ที่ศรีราชา และส่งออกไปกัมพูชา แต่บังเอิญว่าเมื่อ 6 ปีที่แล้วราคาตกต่ำมาก จระเข้ยาว 2 เมตร ราคาเหลือตัวละ 2,500บาท จากปกติขายกันตัวละ 6,000-7,000 บาท ขายแล้วขาดทุนแน่นอน เลยกลายเป็นว่าทำให้เราต้องมาฝึกชำแหละแล้วทำโรงชำแหละเองอีกด้วย เพื่อแยกเนื้อ หนัง ขายแยกส่วนกัน ส่วนเนื้อจะขายให้กับภัตตาคารต่างๆ (ขายรวมทั้งนั้นและกระดูก) กิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนหนังก็ขายเข้าโรงฟอกก็ทำให้ได้ราคาขึ้นมาอยู่ที่ตัวละ 4,000 กว่าบาท ก็เลยพออยู่ได้ สำหรับการเลี้ยงจระเข้ คุณวิสาชิณีบอกว่า เลี้ยงไม่ยากแต่เกษตรกรที่สนใจจะต้องมีเงินทุนพอสมควร เพราะต้องให้อาหารสดกินทุกวันและกว่าจะขายได้ก็อจใช้เวลาถึง 3 ปีที่สำคัญคือ ในพื้นที่บริเวณฟาร์มจะต้องมีแหล่งอาหารเพียงพอที่จะนำมาใช้เลี้ยงได้คลอด ซึ่งทางรุ่งทวีชัยฟาร์มจะใช้วิธีประมูลหัวไก่ และซี่โครงไก่จากโรงชำแหละไก่ในพื้นที่ ซึ่งต้องเป็นโรงงานชำแหละที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ได้อาหารจระเข้ที่มีความสด และสะอาด หัวไก่จะนำมาเลี้ยงจระเข้ขนาดใหญ่ทั่วๆไป ส่วนซี่โครงไก่จะใช้เลี้ยงเฉพาะพ่อแม่พันธุ์เท่านั้น ในแต่ละวันใช้หัวไก่และซี่โครงไก่มาเลี้ยงจระเข้ในฟาร์ม รวมแล้ววันละประมาณ 700-1,000 กก. ต้นทุนปีปัจจุบันอยู่ที่กิโลละ 8 บาท (ไม่รวมค่าขนส่ง) ซึ่งคุณวิสาชิณีบอกว่าต้นทุนค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงจระเข้ ไม่ควรสูงกว่า กก ละ 11 บาทจจึงจะพออยู่ได้เลี้ยงแล้วคุ้มทุนส่วนการดูแลด้านอื่นๆ ไม่ยุ่งยาก แต่ต้องเน้นเรื่องความสะอาดในบ่อเลี้ยงเป็นหลัก โดยเฉพาะในบ่อเลี้ยงจระเข้เล็ก ที่ต้องบดอาหารมาเลี้ยง และจระเข้มักจะนำอาหารลงไปกินในบ่อ จึงมักมีเศษอาหารเหลือยู่ ก็อาจจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย จึงต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ส่วนในจระเข้ใหญ่มักจะกินอาหารจนหมด และมีลานสำหรับให้อาหาร น้ำจึงไม่ค่อยเสียจึงใช้สังเกตสีน้ำเป็นหลัก จึงจะเปลี่ยนน้ำซักครั้ง
.
สำหรับการทำตลาดจระเข้ในช่วงนี้ ทางรุ่งทวีชัยฟาร์มมีช่องทางจำหน่ายอยู่ 3 ช่องทาง คือ
1.ขายลูกจระเข้ให้กับเกษตรกรในเครือข่าย และผู้ที่สนใจ ราคาปัจจุบัน ลูกจระเข้น้ำจืดราคาตัวละ 1,000 บาท ส่วนลูกจระเข้น้ำเค็ม ราคาตัวละ 3,000 บาท จระเข้น้ำเค็มจะแพงกว่าเพราะหายาก เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะเลี้ยงแล้วโตเร็ว และผิวหนังมีลวดลายสวยกว่าจระเข้น้ำจืด
2.ขายจระเข้เป็นตัว และชำแหละส่งขายภัตตาคาร และโรงฟอกหนัง ปัจจุบันฟาร์มชำแหละจระเข้ส่งขายเดือนละประมาณ 500-1,000 ตัว จะรับซื้อจากเกษตรกรที่ตวามยาวตั้งแต่ 1.80 เมตรขึ้นไป ราคาขายจะวัดจากความยาว ปัจจุบันซื้อในราคา 27 บาท ต่อความยาว 1ซม. ซึ่งเป็นราคาตามท้องตลาดทั่วไป ถือว่าเป็นราคาปานกลาง ไม่ได้แพงมาก และไม่ได้ถูกเหมือน 6 ปีที่แล้ว ที่ราคาขายจระเข้ความยาวเฉลี่ย 2 เมตร ขายได้ตัวละ 2,500 บาท แต่ราคาปัจจุบันจะอย฿่ที่ตัวละ 6,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรพอมีกำไร
3.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลือดจระเข้แคปซูล ธุรกิจล่าสุด ที่ได้มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการผลิตเลือดจระเข้ระเบิดแห้ง ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งยังได้การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)เรียบร้อยแล้ว
ที่มา : นิตยสาร สร้างเงินสร้างงาน ปีที่ 8 ฉบับที่ 088 กันยายน 2554